5/12/54

การใช้หนอนยางเท็กซัส ริก


การตกปลาด้วยเหยื่อหนอนยางทำได้หลายวิธีครับ เอาแบบง่ายๆไปก่อนแล้วกันนะครับ มีหนอนยางกับเบ็ดสำหรับเกี่ยวหนอนยางครับ หนอนยางกับตัวเบ็ดควรเลือกให้เหมาะสมกัน ไม่ใหญ่เกินไปไม่เล็กเกินไปในการจับคู่กันครับ  ตรงนี้และครับคัญ เพราะถ้าเราเลือกไม่เข้ากัน เหยื่อใหญ่เบ็ดเล็ก หรือ เบ็ดใหญ่ไป เหยื่อเล็ก อาจทำให้ปลาระแวง และตะกั่วที่ใช้ไม่ควรให้นักเกินไป บางคนอาจไม่สนใจเรื่องนี้ แต่ถ้ามองดีๆ จะรู้สึกได้ว่า เวลาปลาคาบเหยื่อถ้าน้ำหนักตะกั่วถ่วงเยอะไป อาจทำให้ปลาตกใจคายเหยื่อเราทิ้งไปเลยก็ได้ เลือให้เหมาะกันครับ

ในการตีก็แค่ตีไปแล้วปล่อยให้เหยื่อจมถึงพื้น แล้วกะตุกเบาๆหมุนช้า ให้เหยื่อลอยจากดินนิดหน่อยแล้วปล่อยให้จม ทำเป็นจังหวะๆ เหยื่อไม่ได้กลับมาเพราะเราหมุนแต่กลับมเพราะเรากะตุกๆ เราหมุนเพื่อให้สายตึงครับ ส่วนเหยื่อยางตัวเล็กๆใช้หัวจิ๊กเกี่ยวเลยครับ แต่ผมชอบเอาพู่ผูกเข้าไปด้วยมันสวยดีแล้วค่อยเกี่ยวหนอนยางตัวเล็กครับ ตกปลาให้สนุกนะครับ ...


Link แนะนำการใช้งาน เท็กซัส ริก
http://www.fishing4you.com/webboard/index.php?topic=70.0
http://www.smilefishing.com/board/index.php?board=12;action=display;threadid=174

23/10/54

สถานการณ์น้ำท่วมกรุงเทพฯ ปี 2554

 


ฟรี ! ทางด่วน 3 สาย ช่วงน้ำท่วม 23/10/54

     รัฐบาลเปิดให้ใช้ฟรี ทางด่วน 3 สาย ฉลองรัช บูรพาวิถี และบางพลี-สุขสวัสดิ์ ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 3 ต.ค. 2554 เพื่ออำนวยความสะดวกในช่วงน้ำท่วม

     เมื่อวันที่ 23 ต.ค. มีรายงานจากศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม (ศปภ.) ว่า เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนหลังจากเส้นทางเชื่อมกรุงเทพฯ หลายสายมีน้ำท่วมขัง รัฐบาล โดยกระทรวงคมนาคม จึงเปิดให้ใช้ฟรีทางด่วน 3 สาย ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) คือ ทางด่วนฉลองรัช บูรพาวิถี และบางพลี-สุขสวัสดิ์ ตั้งแต่เวลา 24.00 น. วันที่     22 ต.ค. ที่ผ่านมา ถึงวันที่ 31 ต.ค. 2554 

น้ำท่วมธรรมศาสตร์ รังสิต ชั้นในแล้ว จ่อศูนย์อพยพ 23/10/54

   วานนี้ 22ต.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการเข้าตรวจสอบความคืบหน้ากรณีคันกั้นน้ำด้านที่ติดกับถนนพหลโยธินขาออก บริเวณหน้าสถาบันAIT(สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย) พังลงมาและไม่สามารถแก้ไขได้ จนเป็นเหตุให้น้ำที่ไหลมาตามเส้นทางถนนพหลโยธินไหลเข้าสถาบัน AIT จากนั้นปริมาณน้ำจำนวนมากได้ไหลล้นเอ่อเข้าท่วมพื้นที่สำนักงานพัฒนาวิทยา ศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(ศูนย์รังสิต) และล้นแนวกั้นน้ำของทางมหาวิทยาลัย ทำให้อาคารเรียนของคณะต่างๆ รวมทั้งศูนย์อพยพชั่วคราวบริเวณยิมเนเซี่ยม 1 ได้รับผลกระทบจากปริมาณน้ำที่ไหลเข้ามาในพื้นที่ชั้นใน
     ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า จากกรณีที่น้ำได้ไหลเข้ามาพื้นที่ชั้นใน และสถานที่ยิมเนเซียม 1 ซึ่งใช้เป็นสถานที่พักพิงชั่วคราวของผู้ประสบอุกทัยภัย ทำให้ทางมหาวิทยาลัยต้องขนย้ายผู้อพยพที่เป็นเด็ก สตรีและคนชรา ขึ้นไปอยู่บริเวณชั้น2 ของอาคาร เพื่อเป็นการไม่ประมาท และยังมีผู้อพยพบางส่วนที่ได้ถูกย้ายไปไว้ที่อาคารวิทยบริการซึ่งอยู่ใกล้ เคียงกัน
      นอกจากนี้ยังมีการตั้งแนวกระสอบทรายล้อมรอบยิมเนเซี่ยม1 เพื่อไม่ให้น้ำเข้ามาสู่พื้นที่อาศัยของผู้อพยพ ซึ่งขณะนี้ปริมาณน้ำได้ไหลเข้าท่วมบริเวณลานปูนที่ใช้รับประทานอาหารของผู้ อพยพความสูงประมาณ5ซ.ม. โดยขณะนี้ผู้อพยพเหลือจำนวนทั้งสิ้น 3,500 คน จากเดิมมีอยู่ที่ประมาณ3,800 คน เนื่องจากผู้อพยพบางส่วนได้เริ่มเดินทางกลับ และยืนยันว่าไม่มีการเคลื่อนย้ายผู้อพยพไปไว้ที่ศูนย์อพยพแห่ง 

น้ำคลองประปาไหลเข้าท่วมเขตดอนเมือง เมื่อคืนที่ผ่านมา 21/10/54

      เมื่อช่วงกลางดึกที่ผ่านมา น้ำที่เอ่อล้นจากคลองประปาได้ไหลเข้าท่วมหมู่บ้านปิ่นเจริญ 4 แขวงสีกัน เขตดอนเมือง ซึ่งเป็นชุมชนที่ด้านทิศตะวันออกของคลองประปา ชาวบ้านคาดไม่ถึงว่าน้ำจะไหลเข้าท่วมหมู่บ้านเป็นแรกในรอบหลายสิบปี หลายคนจึงอพยพย้ายสิ่งของไม่ทัน


       ชาวชุมชนหมู่บ้านปิ่นเจริญโครงการ 4 แขวงสีกัน เขตดอนเมือง จำนวนกว่าหลายครอบครัวต้อง อพยพขนสิ่งของหนีน้ำกันกลางดึก หลังจากระดับน้ำที่เอ่อทะลักมาจากบริเวณคลองประปาได้ไหลขึ้นมาท่วมบ้านเรือน ของประชาชนที่มีจำนวนถึง 400 หลังคาเรือน และระดับน้ำได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนบางจุดมีน้ำท่วมสูงเกือบ 1 เมตร ชาวบ้านหลายคนยอมรับว่านับว่าเป็นครั้งแรกที่ถูกน้ำท่วม เนื่องจากพื้นที่ในหมู่บ้านอยู่ด้านทิศตะวันอออกของคลองประปา เรียกได้ว่าอยู่ด้านบนสุดของเขตดอนเมืองและไม่เคยถูกน้ำท่วมมาก่อน จนชาวบ้านบางคนต้องอพยพสิ่งของกันตลอดทั้งคืน

     สำหรับน้ำที่ไหลเข้าท่วมในชุมชนแห่งนี้ยังได้ไหลข้ามมายังถนนนาวงประชาพัฒนา ที่จะมุ่งหน้าไปยังถนนสรงประภามาจนถึงถนนวัดเวฬุวนาราม หรือวัดไผ่เขียว ซึ่งก่อนหน้านี้ก็ถูกน้ำท่วมมาตั้งแต่เมื่อช่วงหัวค่ำของเมื่อวานนี้ ทำให้ชาวบ้านจำนวนมากต้องนำรถและจอดไว้บนถนนซึ่งถือว่าอยู่ปลอดภัยกว่าที่จะ จอดไว้ในหมู่บ้าน 

กทม.ประกาศพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมเพิ่ม 3 แขวง 21/10/54


      กรุงเทพมหานครประกาศพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมเพิ่ม 3 แขวง ในเขตดอนเมือง และหลักสี่ โดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครระบุว่าส่วนหนึ่งมาจากปริมาณน้ำในคลองประปาที่ ยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่รับผิดชอบของ ศปภ.หรือการประปานครหลวง


     ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แถลงข่าวภายหลังการประชุมร่วมกับคณะผู้บริหารของ กทม. เปิดเผยว่า ปัญหาน้ำ ไหลเข้าท่วมคลองประปาเดิมนั้นคาดว่าสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ แต่ปรากฏว่า ระดับน้ำในคลองประปาไม่ได้ลงลง แม้จะมีความพยายามในการระบายลงคลองสามเสน และอุโมงค์ระบายน้ำด้านฝั่งคลองมักกะสัน ส่วนปัญหาการรั่วซึมของน้ำที่มีปริมาณมากจนทำให้พื้นที่เขตหลักสี่ และดอนเมืองได้รับผลกระทบ จึงเกรงว่าหากไม่มีการแก้ไข อาจจะทำให้ปริมาณน้ำที่รั่วเข้ามามีกว่านี้

     ประกอบกับในระยะเร่งด่วนนี้ กรุงเทพมหานครมีภารกิจที่จะต้องระดมทั้งทรัพยากรบุคคล และเครื่องมือต่างๆ เข้าไปช่วยเหลือเพื่อเสริมแนวคันกั้นน้ำให้กับประชาชน ในพื้นที่ กทม.ฝั่งเหนือ และตะวันออก โดยเฉพาะที่เขตสายไหมที่จะเร่งสร้างคันแนวกั้นน้ำริมแนวคลองหกวาให้เสร็จโดย เร็ว กทม.จึงไม่สามารถไปช่วยประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากคลองประปาล้นได้โดยเร็ว

ทั้งนี้ ในเบื้องต้นได้ประสานไปยังศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย หรือ ศปภ.ให้พยายามลดระดับน้ำในคลองประปาด้วยการปิดไซฟ่อนที่รังสิต และให้ศปภ.รับภาระดูแลพื้นที่หลักสี่ และดอนเมือง เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นผลสืบเนื่องมาจากคลองประปา เพราะว่าคลองประปาถือว่าเป็นจุดเดียว ที่กทม.ไม่สามารถเข้าไปสร้างแนวป้องกันน้ำท่วมได้ 

พรุ่งนี้บ่าย น้ำเต็มคลองรังสิต จี้เร่งระบายเข้ากทม. 21/10/54

     นักวิชาการจี้ระบายน้ำเข้ากทม.ชั้นในลดแรงกดดันคลองรังสิต หลังประเมินพรุ่งนี้บ่าย ทะลักเต็มทุ่งรังสิต เข้ามาเต็มพิกัดยากจะรับมือได้


     รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผอ.ศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และผอ.ศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ"เรื่องเล่าเช้านี้" ช่อง3 ว่า ถึงเวลาแล้วที่ จะหาทางออกโดยการปล่อยให้น้ำไหลผ่านกทม. และมั่นใจว่าไม่กระทบมาก เนื่องจากขณะนี้มีมวลน้ำมหาศาลจ่อเข้ามาอีกมาก และคาดว่าประมาณบ่ายพรุ่งนี้จะเข้ามาเต็มคลองรังสิตและจะมุ่งหน้ามาคลองหกวา ซึ่งคาดว่าคันกั้นน้ำต่างๆคงไม่สามารถรับได้

     "ปัจจุบันนั้น น้ำได้ไหลเข้ามาที่ 120 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แต่คลองหกวามีความสามารถ122 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ดังนั้นวันนี้ยังไม่มีปัญหา และต้องหาทางระบายลงล่าง แต่เมื่อภายในพรุ่งนี้ เมื่อน้ำจะเต็มคลองรังสิต ศักยภาพคลองหกวา  จะมีปัญหาไม่สามารถรองรับได้ดังนั้นทางออกต้องปล่อยลงล่าง หากไม่ทำน้ำก็จะข้ามทะลัก ท่วมลงเป็นวงกว้างสร้างความเสียหายใหญ่หลวง กรุงเทพชั้นนอกก็จะท่วมนาน 2 เดือน "

     เขาเห็นว่าการให้น้ำไหลผ่านกทม.ถือเป็นการระบายที่ดีที่สุด และเชื่อว่ากทม.คงไม่กระทบมาก หรือรุนแรงแบบบางบัวทอง โดยในระดับหมู่บ้านไม่น่าจะสูงเกิน 1 เมตรส่วนบนถนนก็จะน้อยกว่านั้น ทั้งนี้พื้นที่ชั้นในที่ระดับน้ำต่ำสุดเห็นจะเป็น รามคำแหง บางกะปิ

     ส่วนปัญหาคลองประปา เขาเห็นว่าขณะนี้ยังไม่เป็นปัญหา น้ำทะลักเข้ามา 96 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แต่กทม.สามารถสูบระบายได้ 90ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำให้น้ำล้นเล็กน้อย ยังรักษาได้ แต่ที่ห่วงตรงคันกั้นน้ำอาจแตกหรือชำรุดหลายจุด หากเข้ามามากกว่านี้จะมีปัญหาได้ เพราะปริมาณน้ำที่ยังขังรออีกมาก เนื่องจากน้ำจากอยุธยา มีถึง 3 พันล้านลูกบาศก์เมตร คันกั้นน้ำเข้าคลองประปาอาจจะรับไม่ได้ อาจจะไม่แตกเฉพาะที่เชียงราก  

      ข้อเสนอของดร.เสรี เป็นไปในทิศทางเดียวกับที่ นายปราโมทย์ ไม้กลัด ที่ปรึกษาผู้ว่าการกรุงเทพฯ แนะนำไว้
 

แผนผังการผันน้ำออก

เส้นทางการผันน้ำป้องกรุง 
เส้นทางการผันน้ำป้องกรุง

สถานการณ์น้ำท่วมกทม.และรอบนอก 19/10/54



แผนที่เลี่ยงน้ำท่วม

แผนที่เลี่ยงน้ำท่วมล่าสุด
 
แผนที่เลี่ยงน้ำท่วมไปภาคเหนือ

กทม. น้ำทะลัก ! คลองเปรมประชากร 18/10/54



     กทม.ลุ้นระทึก!น้ำทะลักข้ามถ.เชียงรากหลัง มธ.รังสิต ไหลเข้าคลองเปรมประชากรแล้ว ด้าน ศูนย์มธ. ยันรับมือน้ำท่วมได้ ยังไม่อพยพผู้พักพิง

     นายกำพล รุจิวิชชญ์  รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เปิดเผยว่า ได้ประกาศปิดรับผู้พักพิงชั่วคราว เพื่อดูสถานการณ์น้ำ  โดยขณะนี้ ระดับน้ำทรงตัว ไม่เพิ่มขึ้น คันกั้นน้ำยังรับน้ำได้อีกกว่า 1 เมตร  เชื่อว่า ดูแลสถานการณ์ได้ ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีนโยบายอพยพผู้พักพิงไปที่อื่น ยังสามารถเคลื่อนย้ายไปที่สูงขึ้น ภายในมหาวิทยาลัยได้ เชื่อว่า จะปลอดภัย เพราะเตรียมการมาเป็นเดือน ขณะที่ เรื่องความปลอดภัยของอาสาสมัครนั้น ได้วางแนวทางไว้ว่า จุดที่ไม่ปลอดภัย จะไม่ใช้อาสาสมัคร แต่จะใช้เจ้าหน้าที่ทหาร

      ทั้งนี้ เมื่อเวลาประมาณ08.28น. ที่ผ่านมา รายการเรื่องเล่าเช้านี้ ทางช่อง 3 ได้ แจ้งข่าวด่วนผ่านรายการว่า ขณะนี้ถนนเชียงรากด้านหลังธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต(มธ.รังสิต) น้ำได้ทะลักเข้าเข้าถนน ทำให้รถสัญจรไปมาไม่ได้ และน้ำได้ไหลเข้าคลองเปรมประชากรแล้ว ซึ่งหากสะกัดไม่ได้อาจจะทำให้น้ำไหลท่วมเข้ากทม.ได้

น้ำท่วมสายไหม


    เมื่อวันที่ 16 ต.ค. เวลา 20.00 น. นางนงพระงา บุญปักษ์ ผู้อำนวยการเขตสายไหม กล่าวว่า สถานการณ์น้ำในเขตสายไหมล่าสุดยังเป็นปกติ โดยมีการเสริมแนวป้องกันที่คลองหกวาระยะทางยาว 6 กิโลเมตร ความสูงอยู่ที่ประมาณ 50 เซนติเมตร ซึ่งประชาชนในพื้นที่ก็ยังไม่ได้วิตกกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ได้สอบถามสถานการณ์มาที่เขตเป็นระยะ โดยทางเขตสายไหมได้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีความพร้อมและยกสิ่งของขึ้นที่ สูงหากเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินขึ้นมา อย่างไรก็ตาม เรื่องแผนอพยพประชาชนในเขตสายไหมนั้น ได้ดำเนินการเหมือนทุกเขตโดยศูนย์อพยพที่โรงเรียนสังกัดกทม.จำนวน 11 แห่ง ส่วนแผนช่วยเหลือประชาชนด้านอื่นๆก็มีการเตรียมไว้แล้วเช่นกัน เพื่อความปลอดภัยของประชาชน
   
ด้านนายภูมิพัฒน์ ดำรงเกียรติศักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตดอนเมือง กล่าวว่า สถานการณ์น้ำในพื้นที่ดอนเมืองปกติ ระดับน้ำในคลองยังควบคุมได้ หากติดตามสถานการณ์น้ำมาอย่างต่อเนื่องจะเห็นได้ว่ายังไม่มีอะไรที่น่าวิตก หรือกังวล ซึ่งสถานการณ์น้ำในปัจจุบันถือว่าเป็นเรื่องระดับชาติแล้ว โดยทุกหน่วยงานได้เข้ามาทำงานเชิงบูรณาการร่วมกันทั้งสำนักงานเขต สำนักการระบายน้ำ กองทัพต่างๆ หากจะให้เขตดำเนินการเพียงลำพังก็คงไม่สามารถทำได้ อย่างไรก็ตามหากเกิดกรณีฉุกเฉิน เขตได้เตรียมความพร้อมไว้เรียบร้อยแล้ว เช่น ศูนย์อพยพ โดยได้ประสานวิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) วัดดอนเมือง วัดไผ่เขียว ขณะเดียวกันเขตได้ประกาศให้ประชาชนชุมชนในพื้นที่ รับทราบข้อมูลสถานการณ์น้ำอยู่ตลอดเวลา


น้ำจากคลอง2 สายไหมเอ่อท่วมชุมชนสูง10-20ซม.


น้ำจากคลอง 2 สายไหมเอ่อท่วมชุมชนสูง10-20ซม.

น้ำท่วมกทม. มีนบุรีเป็นพื้นที่ภัยพิบัติฉุกเฉิน 16/10/54

     ประกาศให้เขตมีนบุรี เป็นพื้นที่ภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินเฉพาะหน้าแล้ว นายอรุณ พ่วงสมบัติ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตมีนบุรี กล่าวว่า ขณะนี้มีชุมชนที่ได้รับผลกระทบมากถึง 35 ชุมชน ประชาชนได้รับความเดือดร้อน 4,636 ครอบครัว พื้นที่เกษตรกรรมได้รับความเสียหายแล้วจำนวน 1,390 ไร่ การเดินทางมีความลำบากหลายจุด ดังนั้นกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้ประกาศให้เขตมีนบุรีเป็นพื้นที่ภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินเฉพาะหน้าแล้ว


   ผู้ว่าฯกทม. ระบุจากการบินสำรวจสถานการณ์น้ำท่วมตาม พื้นที่ต่างๆ พบว่าหลายพื้นที่น้ำเริ่มเน่าเสียและกังวลในพื้นที่กทม.ด้านตะวันตกบริเวณ คลองทวีวัฒนา ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวภายหลังขึ้นเฮลิคอปเตอร์บินตรวจสถานการณ์น้ำท่วมโดยรอบ กทม. โดยยอมรับว่าน้ำในพื้นที่ใกล้เคียงมีปริมาณมาก ทำให้กทม. ต้องวางแผนตั้งรับให้ดี โดยเฉพาะเขตทวีวัฒนา ที่เป็นรอยต่อกับจังหวัดนครปฐม ซึ่งเสี่ยงกับภาวะน้ำตลบหลังไหลเข้าท่วมพื้นที่
     อย่างไรก็ตามจากสถานการณ์น้ำที่เห็นไม่พบทางระบายน้ำออกจาก กทม. แต่ทางเจ้าหน้าที่พยายามสร้างคันกั้นน้ำเพื่อป้องกันน้ำอย่างดีที่สุด 

2 ต้นเหตุปัญหา "น้ำท่วมกรุง"

     ชัยภูมิที่ตั้งของ "มหานครกรุงเทพ" เป็นที่ราบลุ่มตอนปลายของแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ในเขตอิทธิพลการขึ้น-ลงของน้ำ ทะเล บวกกับสภาพการเปลี่ยนแปลงของเมืองที่ขยายตัวไปมาก มีอาคารบ้านเรือน เข้ามาแทนที่ห้วย หนอง คลอง บึง และที่ว่าง ผนวกกับการทรุดตัวของดินเป็นประจำทุกปีด้วยแล้วกลายเป็นต้นตอที่ทำให้ "กรุงเทพฯ" ในวันนี้หนีไม่พ้นจะประสบปัญหาน้ำท่วมได้


    รายงานของสำนักการระบายน้ำกรุงเทพมหานคร (กทม.) ระบุว่า มี 2 สาเหตุที่ทำให้น้ำท่วมกรุงเทพฯ สาเหตุที่ 1 มาจากธรรมชาติที่ยากจะควบคุมได้จาก 4 น้ำคือ "น้ำฝน-น้ำทุ่ง-น้ำเหนือ-น้ำทะเลหนุน"

      โดย "น้ำฝน" ฤดูกาลจะเริ่มช่วงพฤษภาคม-ตุลาคม มีปริมาณและความถี่สูงสุดกลางสิงหาคม-ตุลาคม เฉลี่ยต่อปี 1,500 มิลลิเมตร ประกอบกับเป็นช่วงที่เกิดพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนเข้ามาในประเทศไทยและใกล้ กรุงเทพฯ

      "น้ำทุ่ง" คือน้ำฝนหรือน้ำเพื่อการกสิกรรมอยู่ด้านเหนือและตะวันออก ของกรุงเทพฯ โดยความรุนแรงขึ้นอยู่กับปริมาณและระดับน้ำและความลาดเอียงของระดับพื้นดิน ที่ทรุดตัว

      "น้ำเหนือ" เป็นน้ำฝนที่ตกในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา มีบางส่วนไหลผ่านกรุงเทพฯ มีผลให้ระดับน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาสูงสุดในช่วงตุลาคม-พฤศจิกายน ขณะที่ขนาดของแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณกรุงเทพฯสามารถรองรับปริมาณน้ำเหนือได้ 2,500-3,000 ลบ.ม./วินาที

และ "น้ำทะเลหนุน" จะสูงสุดในช่วงตุลาคม-ธันวาคม
น้ำท่วมกทม.

กรุงเทพฯ ช่วงตุลาคม-พฤศจิกายนจะมีระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาสูงกว่าปกติมาก

     จาก "มวลน้ำ" ทั้งหมดส่งผล กระทบให้พื้นที่กรุงเทพฯช่วงตุลาคม-พฤศจิกายนมีระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาสูงกว่าปกติมาก

     จากสถิติในอดีตทำให้วันนี้ กทม.ค่อนข้างมั่นใจว่าคันกั้นน้ำที่สร้างขึ้นถาวรสูงระดับ 2.50 เมตรจะต้านทานปริมาณน้ำเหนือ-น้ำทะเลหนุนได้ ยกเว้นว่าบรรดาน้ำทั้ง 3 เกลอ "น้ำเหนือ-น้ำฝน-น้ำทะเลหนุน" พร้อมใจมาในเวลาเดียวกันโดยไม่ได้นัดหมาย

สาเหตุที่ 2 เกิดจาก "สภาพทางกายภาพ" มี 3 สาเหตุคือ
     1. "ปัญหาผังเมือง" ที่ขาดการกำหนดผังเมืองและการควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเพียงพอ ทำให้ที่ว่างรับน้ำต่าง ๆ ถูกแทนที่ด้วยการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนและถนนหนทางกระจายทุกหย่อมหญ้า

   บวกกับทางระบายน้ำถูกถม ทำให้การระบายน้ำฝนออกสู่คลองไม่ทัน และระดับพื้นถนนและซอยไม่เท่ากัน หรือบางพื้นที่เป็นแอ่งกระทะเพราะแผ่นดินทรุดตัว ทำให้เกิดน้ำท่วมถนนและซอยที่ต่ำจนเกิดน้ำท่วมฉับพลันได้

     2. "ปัญหาการระบายน้ำ" ที่ขาดแผนหลักระบายน้ำที่ถูกต้อง หลังคูคลองถูกถมเป็นถนน และถูกรุกล้ำจนทำให้มีขนาดที่แคบลงยากที่จะขุดลอกได้ และการวางท่อระบายน้ำในปัจจุบันมีขนาดเล็กลงตามสภาพพื้นที่เมืองที่ ถูกบีบให้เหลือน้อยลงทุกที

     3. "ปัญหาแผ่นดินทรุด" ที่มีการทรุดตัวทุกปี ทำให้การลงทุนระบบต่าง ๆ ไม่ค่อยได้ผล


ข่าวน้ำท่วมกทม.

    สร้างพนังกั้นน้ำ 3 แนว เสร็จทันแน่ ยัน คันกั้นน้ำฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ มีความแข็งแรงมาก

     วันที่ 15 ต.ค. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์ฯพบประชาชน" ผ่านสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 โดยเป็นการบันทึกเทปไว้เมื่อคืนที่ผ่านมา เนื่องจากต้องการใช้เวลาช่วงเช้าวันนี้ ติดตามการแก้ไขสถานการณ์น้ำท่วม ที่ยังคงวิกฤติอยู่ในหลายพื้นที่ โดยระบุถึงการรับมือสถานการณ์น้ำในพื้นที่กรุงเทพฯว่า ในพื้นที่กรุงเทพฯ มีการสร้างพนังกั้นน้ำ 3 แนวคือ คลองหลักหก เมืองเอก จ.ปทุมธานี, คลองทวีวัฒนา ที่เชื่อมต่อ จ.นครปฐม ได้ให้ขยายฐานและเพิ่มความสูงของแนวกั้นน้ำ และที่คลองรังสิต ช่วงคลอง 1-8 ได้เพิ่มแนวกั้นน้ำอีก 1 แนว บริเวณคลองระพีพัฒน์ จนถึงประตูน้ำพระอินทร์ เป็นระยะทางกว่า 24 กิโลเมตร ซึ่งกำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ คาดว่าจะแล้วเสร็จเร็วๆ นี้ ส่วนพื้นที่ตะวันออกของกรุงเทพฯ มีแนวคันกั้นน้ำตามแนวพระราชดำริ ซึ่งมีความแข็งแรงอยู่แล้ว แต่เพื่อเพิ่มความมั่นใจแก่ประชาชน และศักยภาพในการรับน้ำ ได้สร้างคันกั้นน้ำเพิ่มเติมในฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯด้วย

คั้นกันน้ำหลักหก
คันกั้นน้ำบริเวณหลักหก

      นอกจากนี้ นายกฯระบุอีกว่า ขอให้ประชาชนมั่นใจในการทำงานของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพราะสามารถร่วมมือกันเพื่อรับมือ และแก้ไขสถานการณ์อุทกภัยที่เป็นภัยพิบัติขั้นรุนแรงครั้งนี้ได้อย่างแน่นอน โดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อมาร่วมกันแก้ไขและรับมือภัยพิบัติครั้งรุนแรงครั้งนี้ด้วยกัน

     สำหรับสภาพความวิกฤติจากน้ำท่วมที่ จ.พระนครศรีอยุธยา รัฐบาลยึดหลักปฏิบัติป้องกันเขตเศรษฐกิจสำคัญต่างๆ เช่น สถานที่สำคัญ อย่าง ท่าอากาศยาน ศูนย์อพยพต่างๆ ซึ่งจะเร่งผลักดันน้ำสู่ทะเล โดยใช้ 3 ช่องทาง คือ ปากแม่น้ำเจ้าพระยา และการระบายลงทะเลในฝั่งตะวันออก และตะวันตกของลำน้ำเจ้าพระยา ซึ่งฝั่งตะวันออก จะผ่านทางจ.นครนายก มีการขุดลอกคูคลองเพิ่มเติม 7 แห่ง ซึ่งจะใช้เป็นช่องทางระบายน้ำสู่ทะเล ขณะที่ฝั่งตะวันตก จะใช้คลองมหาสวัสดิ์ คลองมหาชัย และอีกหลายคลอง ซึ่งรัฐบาลจะเร่งขุดทางลัด เพื่อร่นระยะเวลาการไหลของมวลน้ำออกสู่ทะเลด้วยเช่นกัน โดยในส่วนของการผลักดันน้ำ ต้องขอบคุณภาคเอกชน ที่ช่วยนำเรือมาใช้ในการผลักดันน้ำร่วมกันในครั้งนี้

     อย่างไรก็ตาม นายกฯ ยืนยันว่า คันกั้นน้ำทางฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ มีความแข็งแรงมาก ซึ่งขอให้วางใจว่า จะไม่มีน้ำเข้าท่วมในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯแน่นอน

คลิปข่าวน้ำท่วมกรุงเทพล่าสุด ศปภ. เฮ น้ำเหนือแผ่ว กทม รอดแน่ ! 15/10/54

มธ.ประกาศนำรถไปจอดวัดพระธรรมกาย 14/10/54

     ห้างสรรพสินค้าและประชาชนพื้นที่เสี่ยงถูกน้ำท่วมเร่งทำพนังกั้นน้ำ ขณะที่ศูนย์อพยพมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ประกาศให้ประชาชนนำรถยนต์ไปจอดในวัดพระธรรมกาย


      หลังศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยประกาศเตือนประชาชนพื้นที่ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี บริเวณใกล้เคียงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต รังสิตตอนบน อ.ลำลูกกา และพื้นที่กรุงเทพมหานคร เขตดอนเมืองตอนบน สายไหม เนื่องจากประตูระบายน้ำคลองบ้านพร้าว จ.ปทุมธานี แตก


ภาพพื้นที่ลานจอดรถช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม ของวัดพระธรรมกาย

 
      ศูนย์อพยพช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ประกาศให้ประชาชนที่พักอาศัยอยู่ภายในศูนย์อพยพนำรถยนต์ไปจอดภายในวัดพระ ธรรมกาย ซึ่งเป็นพื้นที่ปลอดภัยกว่า เพื่อป้องกันความเสียหายหากเกิดน้ำท่วมขึ้น ซึ่งประชาชนบางส่วนยอมนำรถไปจอดที่วัดธรรมกาย แต่บางส่วนยังไม่เคลื่อนย้ายรถออกไป เนื่องจากเกรงจะไม่ปลอดภัย

      ส่วนห้างสรรพสินค้าย่านรังสิต มีการนำกระสอบทรายมาวางโดยรอบทางเข้า-ออกของห้าง ขณะที่ประชาชนย่านสายไหม เร่งก่ออิฐบล็อก วางกระสอบทราย เตรียมความพร้อมป้องกันน้ำท่วม แต่จนถึงขณะนี้สถานการณ์ยังไม่น่าเป็นห่วง.-สำนักข่าวไทย 

แผนที่แสดงพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอุทกภัย 2554
แผนที่แสดงพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอุทกภัย 2554 
* สีฟ้า คือพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอุทกภัย 2554

ผอ.สำนักระบายน้ำกทม.ยันน้ำกทม.ยังปกติ

 



          ผอ.สำนักการระบายน้ำ กทม. ชี้ กทม. ยังปลอดภัยดี แต่ยอมรับ หากฝนตกหนักช่วงที่น้ำเหนือ และน้ำทะเลหนุนสูง 14-18 ต.ค. อาจส่งผลให้ กทม. เสี่ยงน้ำท่วมสูง

          นายสัญญา ชีนิมิตร ผอ.สำนักการะบายน้ำ กล่าวยืนยันว่า ขณะนี้ กรุงเทพมหานคร สถานการณ์ยังอยู่ในภาวะปกติ พื้นที่ของ กทม. ไม่มีปัญหา นอกจากชุมชนแนวคันกั้นน้ำที่ได้รับผลกระทบ อีกทั้งกรมชลประทาน ได้ดูแลและระบายน้ำลงคลองแสนแสบ คลองประเวศ และพยายามกระจายน้ำออกไป ส่วนต่างๆ ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าว พยายามสอบถามว่า ตอนนี้ กทม. เสี่ยงน้ำท่วมหรือไม่ ผอ.การระบายน้ำ ยืนยันว่า ตอนนี้กรุงเทพมหานคร ยังปลอดภัยดี แม้จะมีความเสี่ยงจากน้ำฝน แต่ระบบการระบายน้ำก็ทำได้ดี ขณะที่ แนวคันกั้นน้ำที่ กทม. ได้ดำเนินการก่อสร้างและมีความยาวกว่า 77 กม. ความสูง 2.50 ซ.ม. ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ก็ยังมีระดับสูงกว่า

          อย่างไรก็ตาม สำหรับมวลน้ำก้อนใหญ่ ประกอบกับน้ำทะเลหนุนสูง ระหว่างวันที่ 14-18 ต.ค.นี้นั้น จะส่งผลกระทบต่อกรุงเทพชั้นในหรือไม่นั้น จำเป็นต้องดูว่า น้ำฝนมีจำนวนมากน้อยเพียงใด ซึ่งปริมาณน้ำเหนือนั้น ก็ได้มีการประสานกับทางกรมชลประทาน เพื่อให้ทราบจำนวนที่ถูกต้องมาโดยตลอด ทั้งนี้ ยอมรับว่า หากฝนตกลงมามากเท่าใด ย่อมมีความเสี่ยงมาก 

ผังผันน้ำเลี่ยงกรุง 8 พันล้านลบ.ม.



ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ระบุว่า ขณะนี้ปริมาณน้ำที่ จ.พระนครศรีอยุธยา มีปริมาณอยู่ประมาณ 8,000 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) โดยรัฐบาลได้พยายามผันมวลน้ำดังกล่าวลงทะเลใน 2 ทิศทาง คือ
ทางตะวันออก จะผันลงทางคลองระพีพัฒน์ คลองแสนแสบ ลงแม่น้ำบางปะกง ผันลงแม่น้ำท่าจีนทางคลองมหาสวัสดิ์ คลองภาษีเจริญ และลงที่บริเวณคลองลัดโพธิ์ ผันออกไปทาง จ.ฉะเชิงเทรา และสมุทรปราการ ซึ่งจะทำให้เกิดน้ำหลากท่วมเขตสายไหม มีนบุรี หนองจอก และลาดกระบัง
ทางตะวันตก น้ำจำนวนมหึมาจะไหลเอ่อไปที่ จ.ปทุมธานี และนนทบุรี และเชื่อว่าคงกระทบถึง จ.นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม ปฏิบัติการครั้งนี้จะผันน้ำลงสู่ทะเลให้เร็วที่สุด เพราะมวลน้ำขนาดใหญ่จาก จ.นครสวรรค์ จะลงมาสมทบอีก คาดว่าจะถึงกรุงเทพฯ ในวันที่ 15 ต.ค.
ข่าวน้ำท่วมกรุงเทพล่าสุด 
ผังผันน้ำเลี่ยงกรุงเทพฯ

เช็คสถานการณ์น้ำท่วมถนนทั่วกรุงเทพวันนี้  

        ใครขับรถหรืออยู่ในกทม.ดูทางนี้เลย สามารถตรวจวัดระดับน้ำบนถนนทั่วกรุงเทพฯ ได้ด้วยระบบ Flood Monitoring System โดยการ คลิ๊กที่นี่
      ระบบตรวจวัดน้ำบนถนนใน กทม. โดยสำนักการระบายน้ำ จากจุดสังเกตุ 71 สถานีทั่วกรุงเทพ

รายงานสถานการณ์น้ำท่วมล่าสุด 15.15 น.

นายกฯ เตือน กทม.ฝั่งตะวันออกรับมือน้ำท่วม



      น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวเตือนประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันออก เตรียมรับมือสถานการณ์น้ำที่อาจท่วม แต่เชื่อว่าระดับน้ำสูงเพียง 20-30 ซม. เนื่องจากมีการทำแนวกั้นน้ำรอยต่อปทุมธานีและกรุงเทพมหานคร เพื่อชะลอน้ำ รวมถึงการขุดลอกคูคลอง เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ ซึ่งทำให้การระบายน้ำรวดเร็ว สามารถลดระดับน้ำใน กทม.ได้
     ขณะที่ แนวคันกั้นน้ำจะเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 1-2 วันนี้ ทั้งนี้เชื่อว่า ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จะรับมือสถานการณ์น้ำได้ เนื่องจากยังไม่ร้องขอความช่วยเหลือเพิ่มเติม และยังติดตั้งเครื่องระบายน้ำทุกจุดเรียบร้อยแล้ว
สถานการ์น้ำท่วม 
สถานการณ์น้ำท่วม ประชาชนได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก
     วันนี้ตนเองและ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก จะขึ้นเฮลิคอปเตอร์ บินสำรวจเส้นทางระบายน้ำลงแม่น้ำท่าจีน เนื่องจากฝั่งตะวันตกระบายน้ำได้ไม่เต็มที่ ดังนั้นจะหาจุดขุดคลองและติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เพื่อให้การผลักดันน้ำไปตามแนวคลองลงสู่ทะเลอย่างเต็มที่และรวดเร็ว โดยจะผลักดันน้ำตามแนวคลอง ไม่เลือกปฏิบัติว่าจะให้น้ำไหลไปในที่ใด


ถนนพหลโยธินอัมพาต สั่งปิดกม. 53-57

    สภาพการจราจรบนถนนพลหโยธิน ทางหลวงหมายเลข 1 ช่วงกิโลเมตรที่ 55-57 จราจรติดขัดเป็นอย่างหนักและรถหยุดนิ่งสะสมยาว 10 กิโลเมตร มาตั้งแต่เมื่อคืนวานนี้ ขณะที่บริเวณ กิโลเมตรที่ 65 ถนนใช้การไม่ได้ เนื่องจากมีน้ำท่วมขังกว่า 40 เซนติเมตร รถเล็กไม่สามารถสัญจรผ่านได้ ทั้งนี้สถานการณ์ระดับน้ำใน อ.วังน้อย วัดได้ล่าสุดประมาณ 1.50 - 2.50 เมตร
     ล่าสุด เจ้าหน้าที่ตำรวจทางหลวง ได้ประกาศปิดเส้นทาง ถนนพลหโยธิน บริเวณกิโลเมตรที่ 53-57 เนื่องจากถนนมีน้ำท่วมสูงใช้การไม่ได้ โดยจะปิดเส้นทางดังกล่าวตั้งแต่เวลา 08.30 น. เป็นต้นไปอย่างไม่มีกำหนด แนะนำให้หลีกเลี่ยงเส้นทางดังกล่าว
     ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจทางหลาง ยังได้แนะนำเส้นทางเลี่ยงสำหรับผู้ที่ต้องการใช้เส้นทางไปภาคเหนือและภาค ตะวันออกเฉียง โดยผู้ที่ต้องการเดินทางไปภาคเหนือ แนะให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 304 ช่วงบางบัวทอง-สุพรรณบุรี-ชัยนาท ขณะที่ผู้ที่ต้องการเดินทางไปภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แนะให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 305 ช่วงธัญบุรี-องครักษ์-แก่งคอย หรือทางหลวงหมายเลข 33
น้ำท่วมทาง 
สถานการณ์น้ำท่วมถนน การจราจรติดขัดหนัก
     ส่วนสถานการณ์บนถนนสายเอเชีย จากช่วงต่างระดับบางปะอินมุ่งหน้าศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีน้ำท่วมขังพื้นผิวจราจรทุกช่องทาง เป็นระยะทาง 200 เมตร ความสูงประมาณ 10 เซนติเมตร อยู่ช่วงเลยจากนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค มาประมาณ 500 เมตร แต่รถเล็กยังสามารถผ่านไปได้ ขณะที่นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค ล่าสุด บริเวณประตูทางเข้าที่ 1 มีน้ำไหลท่วมทางเข้าแล้ว แต่รถยังสามารถขับผ่านเข้าไปได้ ส่วนประตูทางเข้าที่ 2 ได้มีการนำดินมาถมเป็นคันกั้นน้ำทางเข้าทั้งหมด เพื่อป้องกันระดับน้ำไม่ให้ไหลเข้านิคมอุตสาหกรรม ซึ่งในขณะนี้ ปริมาณน้ำตรงจุดนี้ยังคงมีระดับสูง เนื่องจากอยู่ติดกับคลอง


คนกรุงเทพฯ ตื่นกันทำไมกับน้ำท่วม

      ผลสำรวจความคิดเห็น หลากนักวิชาการน้ำ..ปราโมทย์ ไม้กลัด ส่งสัยคนกทม'ตื่นกันทำไม'มั่นใจเจ้าพระยาไม่ทะลัก"รอยล"มั่นใจเมืองหลวงไม่ วิกฤติ สถานการณ์น้ำท่วมในเขตเมืองหลายพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็น อยุธยา นครสวรรค์ สร้างความตื่นตระหนกให้ชาวกรุงเทพมหานคร ที่หลายคนอยู่ในอาการ "จมข่าวน้ำท่วม" ความเครียดและตื่นตระหนกกระจายทั่วกรุงเทพมหานครอย่างรวดเร็ว


    "ผมไม่รู้ว่า จะตื่นกันไปทำไม" เสียงของ นายปราโมทย์  ไม้กลัด  อดีตอธิบดีกรมชลประทาน ที่วันนี้แม้จะอยู่ในวัยเกษียณอายุ แต่ก็นั่งมอนิเตอร์ตรวจสอบปริมาณน้ำ พร้อมทั้งโทรศัพท์ ประสานแนะนำเจ้าหน้าที่กรมชลประทานในระดับปฏิบัติในฐานะผู้มีประสบการณ์


     เขาอธิบายว่า จากการตรวจสอบสถานการณ์น้ำ ปิง วัง ยม และน่าน อยู่ในระดับทรงตัว  รวมไปถึงการปล่อยน้ำของเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ที่ลดปริมาณการปล่อยน้ำ ทำให้ ระดับน้ำที่ จ.นครสวรรค์ ปัจจุบัน อยู่ที่ระดับ 4,668 ลบ.ม. และในช่วง 1-2 วันนี้ระดับน้ำจะเพิ่มขึ้นมานิดหน่อยแต่ไม่มากนัก เพราะน้ำจากภาคเหนือไม่ไหลมาเพิ่มจึงไม่น่าเป็นห่วงมากนัก


ระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา
ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา
     หลังจากนั้นเมื่อเข้ามาตรวจสอบ ระดับน้ำที่แม่น้ำเจ้าพระยา อยู่ที่ระดับ 3,660-3,500 ล้าน ลบ.ม.ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่ทรงตัว  ปริมาณฝนภาคเหนือ และบริเวณเจ้าพระยามีฝนตกบ้างแต่ไม่มากนัก จึงเชื่อได้ว่า สถานการณ์ปัญหาน้ำท่วม มีแนวโน้มที่ดีขึ้นไปเรื่อยๆ


   "ผมดูจากทุกปัจจัยแล้ว ทั้งน้ำเหนือ ซึ่งอยู่ในระดับที่ไม่น่าเป็นห่วงมากนัก ปริมาณฝนก็ไม่มากเช่นกัน เพราะฉะนั้นวิเคราะห์จากทุกปัจจัยมีแนวโน้มดีขึ้น เพราะฉะนั้นสถานการณ์ที่เหลือ จึงเป็นเรื่องที่ต้องประคับประคองและเร่งระบายน้ำลงสู่ทะเล"


    ส่วนสถานการณ์ที่ กทม. นายปราโมทย์บอกว่า ระดับน้ำในพื้นที่ กทม. อาจจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมาเล็กน้อย  และลักษณะพฤติกรรมน้ำไม่ตาย คือมีน้ำขึ้นน้ำลงปกติ แสดงว่าการระบายยังสามารถทำได้ จึงไม่น่าห่วงอะไร พื้นที่ กทม.รอบนอก ฝั่งตะวันออกอาจจะได้รับผลกระทบจากการระบายน้ำลงสู่อ่าวไทยบ้าง แต่แตกต่างจาก จ.อยุธยา หรือลพบุรี


  "น้ำที่ท่วม กทม.ชั้นนอก จะไม่ท่วมแบบพรวดพราด ต่างจากอยุธยา ลพบุรี เพราะแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วง กทม.มีลักษณะแตกต่างมีพื้นที่ราบที่เป็นลานกว้างให้น้ำแพร่กระจายเข้าไปได้"


     อย่างไรก็ตาม เขาเชื่อว่า แม้จะมีน้ำเออท่วม กทม.ชั้นนอกบ้างเช่น เขต หนองจอก  มีนบุรี รังสิต  ปทุมธานี หรือในพื้นที่บางกรวย ปากเกร็ด  แต่ก็ไม่ท่วมขังในระยะเวลานาน  เพราะ กทม.ได้ออกแบบระบบป้องกันน้ำท่วมมาและการระบายเอาไว้ดีพอสมควร


    ส่วนพื้นที่ กทม.ชั้นใน นายปราโมทย์ ค่อนข้างมั่นใจว่า ไม่น่าจะมีปัญหาน้ำท่วมทะลักจากแม่น้ำเจ้าพระยาแน่นอน เพราะว่าน้ำเจ้าพระยาจะไม่ทะลักเข้า กทม.ชั้นใน ที่มีคันกันน้ำที่สร้างมานานและมีความแข็งแรง รวมไปถึงถนนต่างๆ ที่ออกแบบเพื่อป้องกันน้ำท่วม ดังนั้น กทม.ชั้นใน ไม่ว่าจะเป็น สุขุมวิท ลาดพร้าว บางกะปิ หากเกิดปัญหาน้ำท่วมจะมาจากน้ำท่วมขังจากฝนที่ระบายไม่ทันมากกว่า 


ระดับน้ำคลองในกทม.ปกติ


     lส่วนสถานการณ์ระดับน้ำในคลองหลักของ กทม. ล่าสุดวันที่ 12 ต.ค.พบว่าคลองต่างๆ ยังมีระดับปกติ ส่วนสถานการณ์น้ำในคลองสายหลักในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พบว่ายังอยู่ในภาวะปกติ โดยที่คลองบางเขน ถ.กรุงเทพ-นนท์ ระดับน้ำอยู่ที่ 0.39 เมตร คลองบางเขน ถ.ประชาชื่น ระดับน้ำอยู่ที่ 0.10 เมตร คลองบางเขน ถ.วิภาวดี (ขาเข้า) ระดับน้ำอยู่ที่ 0.73 เมตร คลองบางพรม คลองชักพระ ระดับน้ำอยู่ที่ 0.65 เมตร คลองบางพรม คลองฉิมพลี ระดับอยู่ที่ 0.75 เมตร คลองบางพรม ถนนกาญจนภิเษก ระดับน้ำอยู่ที่ 0.85 เมตร คลองบางพรม ถนนพุทธมณฑลสาย 3 ระดับน้ำอยู่ที่ 0.94 เมตร คลองบางซื่อ ถ.พระรามที่ 5 ระดับน้ำอยู่ที่ 0.92 เมตร


     คลองบางซื่อ ถ.พหลโยธิน ระดับน้ำอยู่ที่ 0.13 เมตร คลองบางซื่อ ถ.วิภาวดี (ขาเข้า) ระดับน้ำอยู่ที่ 0.03 เมตร คลองบางซื่อ ถ.รัชดาภิเษก ระดับน้ำอยู่ที่ 0.12 เมตร คลองบางแวก ถนนพุทธมณทลสาย 1 (วัดไชยฉิมพลี) ระดับน้ำอยู่ที่ 0.71 เมตร คลองบางแวก คลองทวีวัฒนา (สถานีสูบน้ำคลองบางแวก) ระดับน้ำอยู่ที่ 0.96 เมตร คลองเปรมประชากร วัดเทวสุนทร ดอนเมือง ระดับน้ำ 0.30 เมตร และ 0.82 เมตร ตามลำดับ คลองลาดพร้าว 0.32 เมตร คลองมหาสวัสดิ์ ถนนพุทธมณฑลสาย 2 ระดับน้ำ 1.82 เมตร แม่น้ำเจ้าพระยา ปากคลองตลอด 1.83 เมตร คลองแสนแสบ เสรีไทย 24 ระดับน้ำ 0.39 เมตร

Update ! สถานการณ์น้ำท่วมกรุงล่าสุด รายงาน เมื่อ 16.00 น. 12 ตุลาคม

ข่าวน้ำท่วมกรุงเทพล่าสุด
สถานการณ์น้ำท่วมกรุงเทพล่าสุด
 
รถไฟฟ้าใต้ดิน ประกาศปิดทางเข้า-ออกบางจุดของแต่ละสถานี ชั่วคราว ได้แก่
 
1. สถานีบางซื่อ ทางเข้า – ออก หมายเลข 1
2. สถานีหัวลำโพง ทางเข้า – ออก หมายเลข 4
3. สถานีคลองเตย ทางเข้า – ออก หมายเลข 2
4. สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ทางเข้า – ออก หมายเลข 4
5. สถานีพระราม 9 ทางเข้า – ออก หมายเลข 1 และ 3
6. สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ทางเข้า – ออก หมายเลข 3
7. สถานีห้วยขวาง ทางเข้า – ออก หมายเลข 4
8. สถานีสุทธิสาร ทางเข้า – ออก หมายเลข 2 (เริ่มปิดวันที่ 13 ตุลาคม 2554)
9. สถานีรัชดา ทางเข้า – ออก หมายเลข 1 (เริ่มปิดวันที่ 13 ตุลาคม 2554)
10. สถานีลาดพร้าว ทางเข้า – ออก หมายเลข 1 (เริ่มปิดวันที่ 13 ตุลาคม 2554)
11. สถานีพหลโยธิน ทางเข้า – ออก หมายเลข 2 (เริ่มปิดวันที่ 13 ตุลาคม 2554)
12. สถานีสวนจตุจักร ทางเข้า – ออก หมายเลข 1 และ 3 เฉพาะฝั่งบันไดธรรมดา (เริ่มปิดวันที่ 13 ตุลาคม 2554)
13. สถานีกำแพงเพชร ทางเข้า – ออก หมายเลข 3 (เริ่มปิดวันที่ 13 ตุลาคม 2554)
14. สถานีสามย่าน ปิดประตูกั้นน้ำ (Flood Gate) ภายในสถานีสาม ย่านบริเวณทางเชื่อมระดับใต้ดิน ซึ่งเชื่อมต่อกับอาคารจัตุรัสจามจุรี (เริ่มปิด     วันที่ 14 ตุลาคม 2554)
15. สถานีสีลม ทางเข้า – ออก หมายเลข 1 (เริ่มปิดวันที่ 14 ตุลาคม 2554)
16. สถานีลุมพินี ทางเข้า – ออก หมายเลข 3 (เริ่มปิดวันที่ 14 ตุลาคม 2554)
17. สถานีสุขุมวิท ทางเข้า – ออก หมายเลข 1 (เริ่มปิดวันที่ 14 ตุลาคม 2554)
18. สถานีเพชรบุรี ทางเข้า – ออก หมายเลข 2 (เริ่มปิดวันที่ 14 ตุลาคม 2554)
     แต่ทั้งนี้รถไฟฟ้า MRT ยังให้บริการตามปกติทุกสถานี จะปิดเฉพาะทางเข้า – ออกบางจุดเท่านั้น จึงเรียนมาเพื่อกรุณาทราบและขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ โอกาสนี้
เรือคลองแสนแสบขอหยุดให้บริการทุกเส้นทาง

      นายเชาวลิต เมธยะประภาส ผู้ให้บริการเรือคลองแสนแสบ ได้ขอหยุดให้บริการเรือคลองแสนแสบทุกเส้นทาง เพื่อเปิดทางให้กทม.สูบน้ำในคลองออก เตรียมไว้รองรับน้ำเหนือที่กำลังจะทะลักไหลเข้ากรุงใน 1-2 วันนี้  ส่วนจะเปิดให้บริการเมื่อไหร่ ก็ขึ้นอยู่กับขั้นตอนดำเนินการของกรุงเทพฯ

การไฟฟ้านครหลวง ประกาศตัดไฟชั่วคราวบางพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร ในวันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม 2554 กรุงเทพมหานคร

เวลา 08.00-15.30 น.
- ซอยเย็นอากาศ 2
- ซอยประคู่ 1 แยก 42 และ 44
เวลา 08.30-15.00
- ถนนประดิษฐ์มนธรรม บริเวณใกล้ทางตัดซอยนวลจันทร์ (หมู่บ้านมณียา)

และ วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม 2554

เวลา 08.00-15.30 น.
- ศูนย์การค้าคลองเตย ถนนพระราม 4
- ตลาดคลองเตย ด้านโรงรับจำนำ ถนนสุนทร โกษา
เวลา 08.00-16.30 น.
- ถนนประชาอุทิศทั้งสองฝั่งจากแยก กม.9 ถึงทางด่วน และริมถนนสุขสวัสดิ์และในซอยฝั่งซอยเลขคู่จากซอยสุขสวัสดิ์ 44 (ซอยสารอด) ถึงด่านเก็บเงินขึ้นทางด่วนสุขสวัสดิ์
เวลา 08.00-17.30 น.
- จากสะพานเจริญพาส ถึงหมู่บ้านศิวาลัย
เวลา 08.30-15.00 น.
- ปาดซอยหมู่บ้านสินทร ถนนแฮปปี้แลนด์
เวลา 08.30-15.30 น.
- จากถนนคู่ขนานมอเตอร์เวย์ ฝั่งขาออกหลังสถานีสินค้าขนส่ง ICD คลองสี่ถึงถนนฉลองกรุง(บริษัท มนต์ทรานสปอร์ต)

น้ำท่วมบางบัวทอง : ตลาดบางบัวทอง น้ำท่วมประมาณ 1เมตร ด้านสะพานพระราม 4 น้ำเริ่มท่วม ถ.ราชพฤกษ์ จราจรติดขัด

น้ำท่วมลาดกระบัง : ลาดกระบังน้ำเอ่อล้นท่วมตลิ่ง สูงประมาณ 10 ซม.เจ้าหน้าที่นำกระสอบทรายมาทำเป็นแนวกั้นตลอดแนวท่าน้ำ ทั้งนี้ พื้นที่ของเขตลาดกระบังขณะนี้มีจุดที่มีน้ำท่วมขังแล้ว 30 จุด


กรมชลมั่นใจ  ถ้าคันกั้นน้ำไม่พัง กรุงเทพไม่จมบาดาล

     นายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยถึงมาตรการป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพ ว่า ตอนนี้มีการทำคันกั้นน้ำฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ในเขตปทุมธานีและนนทบุรีแล้ว ถ้าคันกั้นน้ำไม่แตกหรือพังลงก็จะสามารถป้องกันน้ำทะลักเข้าท่วมได้

     ส่วนด้านตะวันออกได้เร่งเสริมคันกั้นน้ำเพิ่มเติมอีก ซึ่งตรงนี้จะมีผลกระทบกับประชาชนที่อยู่นอกคันกั้นน้ำ แต่รัฐบาลจะเข้าไปดูแลช่วยเหลืออย่างเต็มที่

     อย่างไรก็ตาม ก็ต้องดูปริมาณน้ำฝน หากฝนตกหนักอาจจะทำให้กรุงเทพมีน้ำท่วมขังได้ ขอเตือนประชาชนอย่าตื่นตระหนกกับเรื่องน้ำมาก แต่ขอให้เตรียมการจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด 

 

คลิปข่าวน้ำท่วมกรุงเทพ น้ำท่วมรังสิต 

 

ข่าวน้ำท่วมกรุงเทพ ประจำวันที่ 12 ตุลาคม 2554



     หลังจากที่รัฐบาลทดลองระบายน้ำจากคลองระพีพัฒน์ปริมาณกว่า 200 ลูกบาศ์เมตรต่อวินาที เพื่อช่วยลดระดับจากน้ำท่วมขังในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง ส่งผลให้ระดับน้ำในประตูระบายน้ำทั้งสองแห่งของกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันออก สูงเกินระดับควบคุม ทำให้น้ำเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนและพื้นที่เกษตรกรรม เช่นเดียวกับน้ำในคลองรังสิตคลอง 1- 6 สูงระดับเดียวกันกับตลิ่ง ทำให้เจ้าหน้าที่และชาวบ้านต้องเร่งเสริมคันกั้นน้ำ


     รัฐบาลได้ทดลองระบายน้ำผ่านคลองระพีพัฒน์ที่ปริมาณ 217 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีเพื่อช่วยลดระดับน้ำจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และน้ำในจังหวัดปทุมธานีส่งผลให้ระดับน้ำพื้นที่ฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหา นคร และชุมชนริมคลองรังสิต เริ่มล้นเข้าท่วมบ้านเรือน และพื้นที่เกษตรกรรมแล้ว

น้ำท่วมรังสิต

     โดยจากการลงพื้นที่ตรวจสอบปริมาณน้ำคลองรังสิตตั้งแต่คลอง 1 ถึงคลอง 6 ฝั่งรังสิต-นครนายก พบว่ามีระดับเดียวกับตลิ่งซึ่งบางช่วงเจ้าหน้าที่เทศบาลอำเภอธัญบุรี ได้นำรถแบคโฮ มาเร่งสร้างคันดินเพื่อเสริมแนวคันกั้นน้ำในบางจุดที่อาจเสี่ยงต่อน้ำท่วม เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำอ่อนล้นเข้าท่วมถนนรังสิต-นครนายก


      นายสงบ อุทิศผล ชาวบ้านริมคลองรังสิต บริเวณคลอง 4 ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี นำกระสอบทรายที่ได้รับแจกมาจากเทศบาลตำบลธัญบุรี มาทำเป็นแนวคันกั้นน้ำ และขนย้ายสิ่งของ เครื่องใช้ไฟฟ้าขึ้นไว้ที่สูง แต่เนื่องจากกระสอบทรายมีจำนวนจำกัด ทำให้ชาวบ้านบางคน เลือกที่จะหาซื้ออิฐบล็อกมาเสริมเป็นแนวคันกั้น โดยให้สูงขึ้นจากพื้นบ้านประมาณ 60 เซนติเมตร เพื่อกันไม่ให้น้ำเข้าไปภายในตัวบ้านแทน ชาวบ้านคลอง 4 ยังเรียกร้องให้ภาครัฐ ประสานงานข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถรับมือได้ทัน


     ขณะที่กรมชลประทาน ออกคำเตือนประชาชนในพื้นที่อาศัยในพื้นที่คลองรังสิต เนื่องจากน้ำที่ท่วมในนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาจะไหลถึงคลอง 26 รังสิต ในอีก 1-2 วันข้างหน้า ก่อนไหลเข้าคลองระพีพัฒน์ภายใน 3 วัน ทำให้กรมชลประทานต้องระบายน้ำจากคลองระพีพัฒน์ฝั่งตะวันตกเข้าสู่คลองรังสิต 1-6 เพื่อทำให้คลองระพีพัฒน์สามารถรองรับน้ำเพิ่มเติมได้ ซึ่งจะทำให้ประชาชนในพื้นที่คลองรังสิต 1-6 ได้รับผลกระทบจากน้ำล้นคลอง โดยคาดว่า ระดับน้ำอาจสูงกว่าถนนไม่เกิน 1 เมตร จึงขอแจ้งเตือนให้ประชาชนขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูงเพื่อความปลอดภัย อย่างไรก็ตาม น้ำจะไม่ไหลพ้นคลองรังสิต จนสร้างผลกระทบต่อประชาชนที่อาศัยในเขตดอนเมืองอย่างแน่นอน


      ส่วนอำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี กรมชลประทานเร่งเสริมคันกั้นน้ำที่พังในเขตตำบลเชียงรากน้อย และ ป้องกันพื้นที่ศูนย์พักพิงผู้ประสบอุทภภัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ไม่ให้น้ำเข้าพื้นที่ ส่วนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา กรมชลประทานเร่งระบายน้ำออกแม่น้ำท่าจีน โดยขณะนี้มวลน้ำก้อนใหญ่ได้มาถึงคลองมหาสวัสดิ์แล้ว ทำให้มีน้ำท่วมพื้นที่พุทธมณฑล ในลักษณะเอ่อล้น


น้ำท่วมรังสิต
ภาพสถานการณ์น้ำท่วมรังสิต


ข่าวน้ำท่วมกรุงเทพ

ประกาศเตือน ! กรุงเทพฯ ชั้นใน 15 แห่งเสี่ยงน้ำท่วม



     ก่อนหน้านี้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านภัยพิบัติ และผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ คาดการณ์ตรงกันว่า กรุงเทพฯชั้นใน 15 แห่ง เสี่ยงภัยน้ำท่วมเพราะเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ


     นายสัญญา ชีนิมิตร ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร บอกว่า ถ้า 3 น้ำคือ น้ำเหนือ น้ำทะเล และ น้ำฝน มาถึงกรุงเทพพร้อมกันจะให้กรุงเทพฯ ชั้นในเสี่ยงน้ำท่วมได้ เพราะเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำมีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ โดยมีพื้นที่จุดอ่อนและเสี่ยงเกิดน้ำท่วม ทั้งหมด 15 แห่ง ได้แก่ เขตสาทร ย่านถนนจันทน์ เซนต์หลุย สาธุประดิษฐ์ ,เขตพญาไท ถนนพหลโยธิน ช่วงคลองสามเสน-คลองบางซื่อ,เขตพระโขนง ถนนสุขุมวิท จากคลองพระโขนง-ซอยลาซาล, เขตวัฒนา ซอยสุขุมวิท39และ49 ,เขตวังทองหลาง จากคลองลาดพร้าว- ห้างเดอะมอลล์,เขตบึงกุ่ม ถนนนวมินทร์จากคลองดอนอีกา-แยกถนนประเสริฐมนูกิจ เขตดินแดง ถนนรัชดาภิเษก-หน้าห้างโรบินสัน , เขตจตุจักร ถนนรัชดา-แยกลาดพร้าว, เขตราชเทวี ถนนเพชรบุรีจากถนนบรรทัดทอง-แยกราชเทวี, เขตราชเทวี ถนนนิมคมมักกะสัน, เขตราชเทวี ถนนพระรามที่ 6 หน้าตลาดประเจจีน, เขตบางแคถนนเพชรเกษม ซอย 63 วัดม่วง, เขตยานนาวา ถนนเย็นอากาศจากถนนนางลิ้นจี่-ซอยศรีบำเพ็ญ, เขตประเวศ ถนนศรีนครินทร์ช่วงคลองตาสาด-คลองตาช้าง และ เขตพระนคร ถนนสนามไชยและถนนมหาราช


     ที่ผ่านมา กทม.รับมือกับปริมาณน้ำฝนได้เต็มที่ 1,500-1,600 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ส่วนแม่น้ำเจ้าพระยารับได้ 3,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แต่วานนี้ ( 11  ต.ค.) แม่น้ำเจ้าพระยาที่อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปริมาณน้ำไหลผ่านเพิ่มสูงขึ้นถึง 3,476 ลูกบาศ์กเมตรต่อวินาทีแล้ว


4 เขตเมืองกรุงจมแล้ว น้ำท่วม

 
     มีรายงานว่าในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ ประกอบด้วย เขตหนองจอก มีนบุรี ลาดกระบัง และคลองสามวา ซึ่งเป็นพื้นที่นอกคันกั้นน้ำตามแนวพระราชดำริ ซึ่งรับน้ำเหนือที่ไหลหลากจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และจ.ปทุมธานี ล่าสุดพบว่ามีบ้านเรือนได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมแล้ว โดยเฉพาะในพื้นที่เขตหนองจอก มีน้ำเข้ามาในพื้นที่ค่อนข้างมาก โดยน้ำเข้ามาตามคลองต่าง ๆ และเพิ่มระดับสูงขึ้นจนล้นแนวคลอง ทำให้บ้านเรือนประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ตามแนวริมคลองถูกน้ำท่วม ปัจจุบันมีชุมชนที่ได้รับความเดือดร้อนทั้งสิ้น 73 ชุมชน จากทั้งหมด 89 ชุมชน และหมู่บ้านเอกชนประมาณ 3 หมู่บ้าน
 
     ขณะที่เขตลาดกระบัง มีพื้นที่น้ำท่วม 30 จุด มีการติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 42 เครื่อง บริเวณถนนคุ้มเกล้าฝั่งเหนือ และบริเวณถนนคุ้มเกล้าฝั่งใต้ อีกทั้งใช้กระสอบทรายอุดกั้นท่อระบายน้ำ วางแนวเป็นคันกั้นน้ำ และเรียงเป็นทางเดินให้ประชาชน ส่วนเขตมีนบุรี พบว่าที่แขวงแสนแสบมีน้ำท่วมถึง 9 แห่ง ได้รับผลกระทบ 10 หมู่บ้าน 35 ชุมชน และบ้านเรือนนอกชุมชนอีก 2 แห่ง รวม 3,637 ครอบครัว ขณะที่เขตคลองสามวา ได้จัดศูนย์พักพิงไว้รองรับผู้ประสบภัย 18 จุด และประสานภาคเอกชนนำรถเข้าไปจอดชั่วคราว อาทิ สนามกอล์ฟปัญญา ที่จอดรถห้างฯแฟชั่นไอส์แลนด์ และซาฟารีเวิลด์.

งานป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯ


     สำนักระบายน้ำฯ ยันยังป้องกันน้ำท่วมกทม.ได้ ทหารสร้างคันกั้นน้ำคลองทวีวัฒนาเพิ่มหลังระดับน้ำสูง1.8เมตร

     สำนักระบายน้ำฯ กทม. สรุปสถานการณ์น้ำประจำวัน ระบุว่า จากสถานการณ์น้ำปัจจุบันแนวป้องกันน้ำท่วมของกทม. ยังสามารถป้องกันได้ ระดับน้ำในคลองต่างๆ ในเขตกรุงเทพมหานคร อยู่ในสภาวะปกติ โดยระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาวัดที่ปากคลองตลาดวันนี้ (11ต.ค.) อยู่ที่ระดับ +1.92 ม.รทก.(ระดับน้ำทะเลปานกลาง)ต่ำกว่าคันกั้นน้ำ 88 ซม.

     ขณะที่ปริมาณน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา และเขื่อนพระราม 6 รวม 4,756 ลบ.ม./วินาที ลดลงจากเมื่อวาน 130 ลบ.ม./วินาที ปริมาณน้ำไหลผ่านที่ อ.บางไทร 3,560 ลบ.ม./วินาที เพิ่มขึ้นจากเมื่อวานที่ผ่านมา 379 ลบ.ม./วินาที

    ส่วนด้านสถานการณ์น้ำในคลองทวีวัฒนา ในบริเวณชุมชนวัดปุรณาวาส เขตคลองทวีวัฒนา ขณะนี้ระดับน้ำอยู่ที่ 1.80 เมตร คาดว่าจะมีแนวโน้มสูงขึ้น ล่าสุดทหารจากกองทัพเรือ กองทัพบก และเจ้าหน้าที่สำนักงานเขตทวีวัฒนา ได้เดินทางเข้ามาเพื่อก่อสร้างคันกั้นน้ำโดยใช้กระสอบทรายและไม้กั้น แต่คาดว่าจะมีกระสอบทรายไม่พอ จึงได้ประสานงานเพื่อขอกระสอบทรายเพิ่ม

    ด้านโรงพยาบาลบางบัวทองจะออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่บริเวณ เทศบาลบางบัวทอง โดยเป็นการให้บริการเชิงรุกกับประชาชน พร้อมประสาน ร.พ.พระนั่งเกล้า กรณีที่ผู้ป่วยอาการหนักไว้รองรับอีกทางหนึ่ง

ข่าวน้ำท่วมกรุงเทพ



     ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) พร้อมคณะลงพื้นที่ไปตรวจประตูระบายน้ำคลองทวีวัฒนาเพื่อติดตามสถานการณ์น้ำ ในพื้นที่ฝั่งธนบุรี ซึ่งปัจจุบันระดับน้ำของประตูระบายน้ำคลองทวีวัฒนาอยู่ที่ 1.58 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง และยังสามารถรับน้ำได้อีกประมาณ 80 เซนติเมตร โดยถือว่ายังอยู่ในระดับปกติ และขณะนี้ได้เปิดประตูระบายน้ำเพื่อผันน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาสู่คลองทวี วัฒนา ผ่านไปยังคลองภาษีเจริญ คลองกระทุ่มแบน คลองบางกอกใหญ่ คลองดาวคะนอง และคลองชักพระ เพื่อช่วยเร่งระบายน้ำจากจังหวัดนนทบุรี  เป็นแนวทาง แก้ไขปัญหาน้ำท่วม
     จากนั้นเดินทางต่อไปยังท่าน้ำโรงพยาบาลศิริราช เพื่อตรวจเยี่ยมการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม โดย กทม.ได้เสริมแนวกระสอบทรายเพิ่มเติมอีก 80 เซนติเมตร จากแนวป้องกันน้ำท่วมถาวรที่มีอยู่เดิม 2 เมตร ทำให้ขณะนี้บริเวณโรงพยาบาลศิริราชมีแนวป้องกันน้ำท่วมสูง 2.80 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง อีกทั้งได้ขยายฐานกระสอบทรายให้กว้างขึ้นเพื่อเพิ่มความแข็งแรง พร้อมทั้งได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติม กรณีอาจมีน้ำซึมเข้ามาในพื้นที่ และจัดหน่วยบริการเร่งด่วน หรือหน่วยเบสท์ เฝ้าระวังพื้นที่ตลอด 24 ชั่วโมง  
     ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า ในส่วนของพื้นที่ฝั่งธนบุรีและโรงพยาบาลศิริราชไม่น่าห่วง เนื่องจากได้เสริมแนวป้องกันเพิ่มเติมและมีการบริหารจัดการเป็นอย่างดี แต่ยังห่วงพื้นที่ฝั่งตะวันออก 4 เขต ได้แก่ หนองจอก มีนบุรี คลองสามวา และลาดกระบัง หากกรมชลประทานปล่อยน้ำจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ในปริมาณมากขึ้น อาจทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากน้ำเอ่อล้นในพื้นที่  
น้ำท่วมกรุงเทพล่าสุด 
สถานการณ์น้ำท่วมกรุงเทพล่าสุดเข้าขั้นวิกฤติแล้ว โดยเฉพาะวันที่ 13-18 ต.ค. น้ำจะเข้าท่วมแน่
 

ข่าวน้ำท่วมกรุงเทพล่าสุด 11 ตุลาคม 2554

     วันนี้ (11 ต.ค.) กทม.จะเปิดศูนย์ปฏิบัติการเฉพาะกิจแก้ไขปัญหาน้ำท่วมด้านตะวันออก ซึ่งตั้งอยู่ ณ ศาลาประชาคมเมืองมีน เขตมีนบุรี เพื่อบูรณาการแผนแก้ไขปัญหาและรับมือหากเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินแบบครบวงจร ให้แล้วเสร็จภายใน 3 วัน ก่อนที่ปริมาณน้ำจะสูงขึ้นทั้งจากน้ำฝนและน้ำท้ายเขื่อน เพื่อที่ กทม. จะได้เตรียมแผนรับมือในพื้นที่เสี่ยงจุดอื่นๆ ต่อไป  
     "ขณะนี้ทุกพื้นที่ทุกหน่วยงานต้องช่วยกันแบ่งเบาภาระ กทม.ได้ตกลงกับกรมชลประทานให้ระบายน้ำได้เข้ามาเพิ่มขึ้น ส่วน กทม. ก็จะบริหารจัดการน้ำในจำนวนมากขึ้นให้อย่างมีประสิทธิภาพ" ผู้ว่าฯ กทม. กล่าว  
     ขณะที่ นายสุธา นิติภานนท์ สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) เขตภาษีเจริญ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการการจราจร ขนส่งและระบายน้ำ สภา กทม. ชุดที่ 8 เป็นประธานการประชุมติดตามการแก้ไขปัญหาผู้ได้รับผลกระทบบริเวณริมเขื่อนแม่ น้ำเจ้าพระยา ณ ห้องประชุมสำนักงานเขตบางแค พร้อมลงพื้นที่ตรวจสภาพน้ำ บริเวณวัดม่วง ถนนเพชรเกษม 63 เขตบางแค โดยมีเจ้าหน้าที่จากสำนักการระบายน้ำ และผู้บริหารสำนักงานเขตบางแคร่วมคณะติดตาม
      นายสุธา กล่าวมั่นใจมาตรการป้องกันของ กทม.สามารถรับมือน้ำเหนือและน้ำทะเลหนุนได้ ชี้เขตบางแคไม่เข้าข่ายพื้นที่ประสบภัยพิบัติ แต่ห่วงฝนตกหนักอาจเกิดปัญหาน้ำท่วมในบางพื้นที่ แนะเขตประชาสัมพันธ์และทำความเข้าใจเพื่อไม่ให้เกิดความตื่นตกใจและวิตก กังวลกับน้ำท่วม เพราะถือว่ายังปลอดภัยและสามารถรับมือได้ - ข่าวน้ำท่วมกรุงเทพจากสำนักข่าวไทย
สถานการณ์เตรียมรับมือน้ำท่วมกรุงเทพล่าสุด 
สถานการณ์น้ำท่วมกรุงเทพล่าสุด กระสอบทรายขาดแคลนและมีราคาแพง

น้ำท่วมกรุงเทพ มาตราการรับมือน้ำท่วมกรุงเทพ

ผู้ว่ากรุงเทพ แจงมาตรการรับมือปัญหา น้ำท่วมกรุงเทพมหานคร ผ่านเฟชบุ๊ค ว่า
      กทม.ป้องกัน และแก้ไขปัญหาน้ำท่วม โดยใช้ระบบพื้นที่ปิดล้อม คือก่อสร้างคันกั้นน้ำล้อมรอบพื้นที่ เพื่อป้องกันน้ำจากภายนอกมิให้ไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่ ขีดความสามารถของคันกั้นน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา สามารถป้องกันระดับน้ำได้ที่ +2.50เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง (รทก.) หรืออัตราการไหลของน้ำในแม่น้ำประมาณ 3,000-3,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
      ส่วนกรณีมีฝนตกหนักในพื้นที่ก็จะก่อสร้างระบบระบายน้ำ เพื่อระบายน้ำท่วมขังลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ขีดความสามารถของระบบระบายน้ำสามารถรองรับฝนตกไม่เกิน 60 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง หากเกินนั้นก็จะมีน้ำท่วมขังในบางจุดแล้วจะค่อยๆ ทยอยระบายลงเมื่อฝนหยุด ส่วนใหญ่ใช้เวลาระบายประมาณ 1-3 ชั่วโมง
สภาพน้ำท่วมกรุงเทพแม่น้ำเจ้าพระยา 
ภาพข่าวสถานการณ์น้ำท่วมกรุงเทพ

การก่อสร้างแนวป้องกัน น้ำท่วมกรุงเทพ

     ด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานคร ก่อสร้างตามพระราชดำริ เพื่อป้องกันน้ำไหลบ่าจากพื้นที่ตอนบนของกรุงเทพ และพื้นที่ทุ่งด้านตะวันออก ความยาว 72 กม. - บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางกอกน้อยและคลองมหาสวัสดิ์ เพื่อป้องกันน้ำเหนือหลากและน้ำทะเลหนุนเข้าท่วมพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้า พระยา ความยาวแนวป้องกันทั้งสิ้น 77 กม. ก่อสร้างแล้วเสร็จ 75.80 กม. ส่วนที่เหลือจะแล้วเสร็จในปี 2554 ป้องกันน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาสูงสุดที่ระดับ +2.50 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ส่วนที่ยังไม่แล้วเสร็จเรียงกระสอบทรายเป็นแนวป้องกันชั่วคราว สูงที่ระดับ +2.00 เมตร ถึง +2.50 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยเตรียมกระสอบทรายไว้จำนวน 4 ล้านใบ   ผู้ว่ากรุงเทพ เผย 4 เขต เสี่ยงน้ำท่วม
       ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ล่าสุดอยู่ที่ 1.70 เมตร โดยแนวเขื่อนสามารถรับน้ำได้ถึง 2.50 เมตร ซึ่งมั่นใจว่า กรุงเทพมหานครยังรับมือกับสถานการณ์ น้ำท่วม ได้   อย่างไรก็ตาม จะต้องเฝ้าระวังในวันที่ 15-17 ตุลาคม เพราะน้ำทะเลจะหนุนเพิ่ม บวกกับน้ำจากเขื่อนภูมิพลที่จะมาสมทบ   โดย พื้นที่ที่น่าเป็นห่วง คือ เขตหนองจอก เขตลาดกระบัง คลองสามวา และ มีนบุรี รวมถึง 27 ชุมชน นอกแนวเขื่อนเจ้าพระยา คลองบางกอกน้อย และคลองมหาสวัสดิ์ ซึ่งตนได้สั่งการเจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงานของ กทม. ร่วมกันทำงาน ซึ่งมั่นใจว่าจะสามารถระบายน้ำได้ กทม.เชื่ออุโมงค์ยักษ์ช่วยระบายน้ำออกจากด้านฝั่งตะวันออกได้ พร้อมให้ทุกเขตเตรียมสถานที่อพยพประชาชน ยืนยันไม่ได้มีการปิดประตูระบายน้ำแต่หากหน่วยงานใดขอให้เปิดเพิ่มขอให้แจ้ง ล่วงหน้า
น้ำท่วมกรุงเทพ 
ภาพน้ำท่วมในกรุงเทพ ข่าวน้ำท่วมกรุงเทพล่าสุด
     ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการทำงานอุโมงค์ยักษ์พระราม 9 รามคำแหง ภายในสถานีสูบน้ำพระโขนง และให้สัมภาษณ์ภายหลังว่า อุโมงค์ยักษ์แห่งนี้ ทำหน้าที่สูบระบายน้ำและควบคุมระดับน้ำในคลองพระโขนง ซึ่งเชื่อมต่อกับคลองประเวศ คลองแสนแสบ และคลองลาดพร้าว รับระบายน้ำฝน น้ำทิ้งจากชุมชนในเขตพระโขนง บึงกุ่ม วัฒนา คลองเตย มีนบุรี หนองจอก ประเวศ ลาดกระบัง ห้วยขวาง และลาดพร้าว รวมพื้นที่รับผิดชอบ 360 กิโลเมตร ก่อนระบายลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ขณะนี้อุโมงค์ดังกล่าวได้เปิดทำงานเต็มอัตราตลอด 24 ชั่วโมง โดยมีเครื่องสูบน้ำ 4 เครื่อง ทำให้สามารถมีกำลังในการระบาย 60 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที รวมกับสถานีสูบน้ำพระโขนงอีก 150 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำให้สถานีสูบน้ำแห่งนี้มีกำลังการสูบน้ำทั้งสิ้น 210 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที หรือคิดเป็นประมาณ 4 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ถ้าหากรวมกับสถานีสูบน้ำแห่งอื่นๆทั่วกรุงเทพมหานครจะมีกำลังการระบายน้ำ ประมาณ 1,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที หรือประมาณ 10 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ในปริมาณการระบายน้ำดังกล่าว ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่เพียงพอที่สามารถระบายน้ำและป้องกันการท่วมภายใน พื้นที่กทม. และสามารถเพิ่มได้หากมีการประสานงานมา
     
     "ผมขอยืนยันว่า สถานีสูบน้ำของกทม.ไม่ได้ปิดประตูตามที่เป็นข่าว ทั้งนี้การเปิดประตูระบายน้ำขึ้นอยู่กับศักยภาพและขนาดของสถานีระบายน้ำแต่ ละแห่ง รวมถึงชุมชนที่จะได้รับผลกระทบ หากหน่วยงานใดต้องการให้ประตูระบายน้ำเพิ่มขีดความสามารถในการระบายน้ำให้ มากขึ้นก็สามารถดำเนินการได้ เพียงแต่ต้องประสานล่วงหน้า เพื่อจะได้ประกาศแจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ เตรียมพร้อมกับปริมาณน้ำทีเพิ่มขึ้นจากการระบายน้ำของสถานีที่จะเปิดเพิ่ม ขึ้น" ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าว
เหตุการณ์น้ำท่วมล่าสุด 
ภาพสถานการณ์น้ำท่วมล่าสุด
     นอกจากนี้ยังเป็นห่วงในช่วง 13-16 ตุลาคม เป็นช่วงที่น้ำทะเลหนุนเข้ามาเพิ่ม ผู้ว่าฯกทม. กล่าวว่า เป็นห่วงในพื้นที่กทม.ด้านตะวันออก และพื้นที่นอกแนวคันกั้นน้ำใน 13 เขตที่อาจได้รับผลกระทบ พร้อมกันนี้ได้สั่งการให้สำนักงานเขตในพื้นที่เสี่ยงเตรียมความพร้อมในการ อพยพประชาชน หากกรณีน้ำท่วมสูง เข้าในพื้นที่ โดยใช้พื้นที่โรงเรียนในสังกัดเป็นสถานที่พักสำหรับผู้ที่ได้รับความเดือด ร้อนด้วยพร้อมกับ เตรียมกระสอบทราย โดยสั่งเพิ่มอีกกว่า 1 ล้านใบ แต่ขณะนี้ติดปัญหาทรายขาดตลาดที่ไม่เฉพาะในกทม. แต่เป็นทั่วประเทศ - สำนักข่าวไทย
      หลักเกณฑ์และแผนการอพยพ ทางกรุงเทพมหานครได้จัดเตรียมแผนในภารกิจอพยพในครั้งนี้โดยได้กำหนดขั้นแรก คือ
1. การจัดทำแผนที่ประสบภัยน้ำท่วม ทั้งทุ่งตะวันตกชุมชนริมน้ำและแนวตะวันออก โดย 1.1 สำรวจชุมชนและแผนที่ที่ได้รับผลกระทบ 1.2 สำรวจจำนวนครัวเรือนและลงทะเบียนผู้รับผลกระทบ 1.3 กำหนดพื้นที่พักพิงใกล้เคียง
2. การเคลื่อนย้ายผู้รับผลกระทบ
     2.1 รถขนย้าย
     2.2 เรือขนย้าย
     2.3 บุคลากรเจ้าหน้าที่เทศกิจ และ อภปร.
     2.4 การประสานเส้นทางการควบคุมการจราจร
     2.5 การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย คนพิการ และหน่วยแพทย์กู้ชีพ
     2.6 การเตือนภัย  
3. ศูนย์พักพิงซึ่งจะได้จัดเตรียมสถานที่พักและเครื่องนอน รวมทั้งปัจจัยสี่ และอุปกรณ์ดำรงชีพจัดบุคลากรสนับสนุนให้ข้อมูลข่าวสาร ดูแลสัตว์เลี้ยงที่ผู้อพยพมาออกมาด้วยและการจัดนักจิตวิทยา เข้าไปฟื้นฟูสภาพจิตใจซึ่งจะต้องกระทำการอย่างทันที  
4. ศูนย์ประสานงานกลางที่จะต้องดูแลทรัพย์สินบ้านเรือนของมีค่า สำรวจความเสียหาย และให้การช่วยเหลือรวมทั้งการกระจายของรับบริจาค และสนับสนุนความช่วยเหลือ การอนุมัติงบประมาณประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการแจกคู่มือรับสถานการณ์น้ำท่วม
5. การฟื้นฟูหลังน้ำลดซึ่งมีทั้งการเคลื่อนย้ายกลับที่พัก การสนับสนุนงบประมาณเยียวยาความเสียหายการซ่อมแซมทางกายภาพ และการก่อสร้างแนวป้องกันน้ำเพิ่มเติมให้สมบูรณ์
กระชาชนกักตุนเครื่องอุปโภค บริโภคเตรียมรับสถานการณ์น้ำท่วม 
ประชาชนเริ่มกักตุนเครื่องอุปโภค บริโภคเพื่อเตรียมรับมือกับสถานกาณ์น้ำท่วม

ข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำท่วม 

1. เมื่อแจ้งเตือนน้ำท่วม จะมีการแจ้งล่วงหน้าประมาณ 3 ชั่วโมง เพื่อทำการเก็บของรถยนต์หรือจักยานยนต์ ควรหาอาคารสูงเพื่อจอดรถ ตรวจสอบได้จากห้างสรรพสินค้าต่างๆ
2. ผู้อาศัยที่มีบ้านพักริมคลองหรือบ้านชั้นเดียว ควรมีการเก็บเสื้อผ้าเครื่องใช้จำเป็นให้ง่ายต่อการเคลื่อนย้าย กรณีต้องอพยพหนีน้ำ (สำหรับพื้นที่เสี่ยงที่ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติและ กทม. ประกาศ)
3. การจะไปซื้ออาหารมากักตุนเพื่อสำรองไว้ แนะนำว่าควรจะสำรองไว้เพียงแค่ 2 วันเท่านั้น เพราะเมื่อเกิดเหตุจริง จะมีการดำเนินการเรื่องการแจกของพร้อมอาหารปรุงสำเร็จและน้ำดื่ม (ขอให้เข้าใจว่า ข่าวลือที่เกิดขึ้นนั้นอาจมีการนำเอาประโยชน์ทางธุรกิจมาใช้เพื่อให้ได้กำไร ซึ่งเป็นการฉวยโอกาสของภาคธุรกิจบางส่วนเท่านั้น)สำหรับผู้ที่มั่นใจว่า สามารถพำนักอยู่ที่บ้านได้ ควรมีการเตรียมเตาและถังแก็สให้อยู่ในที่พ้นน้ำเพื่อความสะดวกในการปรุง อาหาร เนื่องจากอาจมีการตัดไฟฟ้า
4. การเตรียมเครื่องใช้ที่จำเป็น ควรเตรียม เครื่องใช้เด็กยากันยุง ยาประจำตัว ยาสามัญ สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ยาสระผม ผ้าเช็ดตัวถ่านไฟฉาย ไฟฉาย เทียนไข ไม้ขีดไฟหรือไฟแช็ค น้ำดื่ม
5. ควรประจุไฟแบตเตอรี่ให้เต็ม เมื่อเกิดเหตุใช้โทรออกแค่จำเป็นเท่านั้น

คลิปข่าวน้ำท่วมกรุงเทพล่าสุด



ข่าวน้ำท่วมกรุงเทพล่าสุด


คลิปข่าวแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพ


กองทัพเรือเร่งผลักดันน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาลงสู่ทะเล

แก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพ

      รัฐบาลใช้เรือของหน่วยงานราชการ เเละขอความร่วมมือจากประชาชนที่มีเรือช่วยกันผลักดันน้ำจากเเม่น้ำเจ้าพระยา ออกสู่อาวไทยโดยเร็วที่สุด เพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วมในกรุงเทพมหานคร หลังจากกรมชลประทานคาดการณ์ว่าน้ำเหนือจะมาถึงกรุงเทพมหานครในสัปดาห์หน้า       เรือหลวงเเสมสาร เเละปทุมวัน 1 รวมถึงเรือจากหน่วยงานต่างๆ เร่งเครื่องผลักดันน้ำจากเเม่น้ำเจ้าพระยาออกสู่ทะเล ที่บริเวณประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ อำเภอพระประเเดง จังหวัดสมุทรปราการในขณะที่น้ำทะเลหนุนสูง โดย พล.ร.ท.ทวีวุฒิ พงศ์พิพัฒน์ รองเสนาธิการทหารเรือ เปิดเผยว่า การนำเรือของกองทัพเรือ เเละหน่วยงานต่างมาร่วมปฏิบัติการณ์สามารถผลักดันน้ำออกสู่ทะเลได้วันละ 40 - 45 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน   นอกจากนี้ รองเสนาธิการทหารเรือ ระบุว่า การผันน้ำด้วยวิธีการเช่นนี้สามารถผันน้ำได้ในปริมาณมาก เเละเมื่อวัดระดับหลังจากการผันน้ำไปเเล้วลดระดับลงถึง 15 เซนติเมตร เเละสำหรับในวันนี้ เมื่อเวลาประมาณ 6.00 น. ที่ผ่านมา เรือพักการผลักดันน้ำชั่วคราว เเละจะเริ่มอีกครั้งในเวลา 12.30 - 18.00 น. เเละจะมีปฏิบัติการณ์ผลักดันน้ำต่อเนื่องอย่างไม่มีกำหนด ซึ่งในช่วงปลายเดือนนี้ กองทัพเรือระบุว่า ปริมาณของน้ำทะเลจะหนุนสูงที่สุด ให้ประชาชนเตรียมรับมือไว้  
ส่วนใครที่มีเรือ เเละต้องการร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการฏิบัติภารกิจ เพื่อผลักดันน้ำออกสู่ทะเล เพื่อป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพมหานครสามารถนำเรือเข้าร่วมปฏิบัติการ โดยรัฐบาลจะสนับสนุนน้ำมันให้กับผู้เข้าร่วมปฏิบัติการณ์ในครั้งนี้

คลิปช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม





คลิปน้ำ่ท่วม




New News
ไม่ว่าข่าวทั้งหมดในโลกนี้จะเป็นอย่างไร New News คัดมาเสนอแต่ข่าวที่ดีที่สุดเท่านั้น
บทความที่เกี่ยวข้องกับข่าวน้ำท่วมกรุงเทพ เกาะติดสถานการณ์น้ำท่วมกรุงเทพ รวมคลิปข่าวและภาพน้ำท่วม